ค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

  • Projects
  • News
  • Property
  • How to

“เชียงใหม่” กับการพลิกโฉมระบบขนส่งมวลชน

06 กรกฎาคม 2560

         การขนส่งสาธารณะระบบราง ไม่ได้เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แค่คนในเมืองกรุงอีกต่อไป ในพื้นที่หัวเมืองหลักของมหานครอย่าง “เชียงใหม่” ก็มีการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ โดยในปี 2558 ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เรื่องการนำระบบขนส่งมวลชนแบบราง (TRAM) มาใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของจังหวัดเชียงใหม่

         ภายหลังเรื่องนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ในระหว่างการศึกษา เพื่อหาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมและสามารถตอบสนองการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวภายในเมืองเชียงใหม่ กระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สนข.ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางวิศวกรรมขนส่งและเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (ExCITE) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการสำรวจและศึกษาเพื่อพัฒนาแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะโดยในขั้นตอนนี้จะมีการศึกษาความเห็นจากประชาชนในพื้นที่เป็นส่วนร่วมหลังจากเสร็จสิ้นการสำรวจและศึกษาแล้ สนข.จะนำข้อมูลที่ได้ส่งกระทรวงคมนาคมพิจารณาาและส่งเรื่องไปยังรัฐบาลก่อนที่รัฐบาลจะรับเรื่องเพื่อทำการกำหนดนโยบายและอนุมัติงบประมาณต่อไป

         ภายหลังจากการศึกษาเบื้องต้น จึงได้มีการประชุมเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 โดยได้มีการนำเสนอและมีข้อสรุปเบื้องต้น ซึ่งได้พูดถึงแนวทางการออกแบบ ว่าจะเป็นไปตามการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระดับสากล ดังนี้

การออกแบบผังการพัฒนาพื้นที่ตามหลักการ TOD

  • การออกแบบในพื้นที่หนาแน่น (Density Area)
  • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Planning)
  • การออกแบบระบบขนส่งในพื้นที่ (Transportation)

ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนา TOD

  • การออกแบบผังเมือง (Urban Design and Planning)
  • การจัดการพื้นที่จอดรถ (Parking Management)
  • การจัดที่อยู่อาศัยที่หลากหลายรูปแบบ (Mix-income and Affordable Housing)
  • การจัดเส้นทางการจราจรและการเข้าถึง(Accessibility)
  • การสร้างเอกลักษณ์พื้นที่ (Culture Development and Place Making)
  • การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ (Regional Cooperation)
  • การสร้างความหนาแน่น และการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างชาญฉลาด (Compact and Smart Growth City

         ภายหลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จึงได้มีการศึกษาและเก็บข้อมูลลักษณะและรูปแบบการเดินทางของประชาชนทั่วไปในเมืองเชียงใหม่ และได้มีการออกแบบเส้นทางระบบโครงข่ายขนส่งมวลชน เพื่อประชุมและรับฟังความคิดเห็นในงานสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 กันยายน 2559 โดยได้ออกแบบตัวเลือกการเดินทางทั้งหมด 5 รูปแบบดังนี้

         โครงข่ายทางเลือกรูปแบบที่ 1 โครงข่ายใต้ดิน 3 สาย โครงข่ายรถไฟชานเมือง 1 สาย ระยะทาง: ประมาณ 11-12 กิโลเมตร ข้อดี: มีผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนน้อยมาก ข้อเสีย: ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงและใช้เวลานาน อาจจะมีการเวนคืนพื้นที่ส่วนบริเวณพื้นที่ที่เป็นสถานีบางแห่ง

เชียงใหม่, ระบบขนส่งมวลชน, TOD, การพัฒนาเมือง

         โครงข่ายทางเลือกรูปแบบที่ 2 (ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นอันดับ 1) โครงข่ายใต้ดิน 3 สาย โครงข่ายรถไฟชานเมือง 1 สาย ระยะทาง: ประมาณ 11-14 กิโลเมตร ข้อดี: มีผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนน้อยมาก ข้อเสีย: ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงและใช้เวลานาน อาจจะมีการเวนคืนพื้นที่ส่วนบริเวณพื้นที่ ที่เป็นสถานีบางแห่ง

เชียงใหม่, ระบบขนส่งมวลชน, TOD, การพัฒนาเมือง

         โครงข่ายทางเลือกที่ 3 (ได้คะแนนอันดับที่2) โครงข่ายใต้ดิน 3 สาย โครงข่ายรถไฟชานเมือง 1 สาย ระยะทาง : ประมาณ 10-14 กิโลเมตร ข้อดี: ไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้รถและถนนน้อยมาก ข้อเสีย: ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงและใช้เวลานาน อาจจะมีการเวนคืนพื้นที่ส่วนบริเวณพื้นที่ ที่เป็นสถานีบางแห่ง หมายเหตุ: ไม่ผ่านเมืองเก่า

เชียงใหม่, ระบบขนส่งมวลชน, TOD, การพัฒนาเมือง

         ครงข่ายทางเลือกที่ 4 (ได้คะแนนอันดับที่3) โครงข่ายบนดิน 5 สาย โครงข่ายรถไฟชานเมือง 1 สาย ระยะทาง : ประมาณ 8-18 กิโลเมตร ข้อดี: ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างน้อยและใช้เวลาไม่นาน ข้อเสีย: ควบคุมเวลาในการเดินทางยาก เพราะต้องผ่านตัวเมืองซึ่งเป็นเขตที่มีการใช้รถใช้ถนนเยอะ หมายเหตุ: ผ่านประตูช้างเผือก 1 สายเพื่อลดเวลาในการเดินทาง

เชียงใหม่, ระบบขนส่งมวลชน, TOD, การพัฒนาเมือง

         โครงข่ายทางเลือกที่ 5 โครงข่ายบนดิน 4 สาย โครงข่ายใต้ดิน 1 สาย โครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมือง 1 สาย ระยะทาง: ประมาณ 8-18 กิโลเมตร ข้อดี: ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างน้อยและใช้เวลาไม่นาน เน้นการเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งต่างๆ ข้อเสีย: ควบคุมเวลาในการเดินทางยาก เพราะต้องผ่านตัวเมืองซึ่งเป็นเขตที่มีการใช้รถใช้ถนนเยอะ

เชียงใหม่, ระบบขนส่งมวลชน, TOD, การพัฒนาเมือง

         โดยหลังจากนี้จะมีการศึกษาและออกแบบต่อไป และยังคงเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอยู่เรื่อยๆ หากผู้ใดสนใจสามารถติดตามโครงการนี้ได้ที่ Chiang Mai Public Transit Master Plan หรือ http://www.cm-pmap.com 

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.terrabkk.com

Share