Home / Seminar

คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้ก่อตั้ง Design for Disasters “ TREA TALKS Real Estate 2017 - Future Thailand: ประเทศไทย 4.0 ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ไม่ต้องทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง”

  • กิจกรรมภายในสมาคมฯ

    29 มิถุนายน 2560 09:00 น. - 29 มิถุนายน 2560 21:00 น.

  • Centerpoint Stuio

  • จำกัดจำนวน 800 ท่าน

โดยคุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์  ผู้ก่อตั้ง Design for Disasters

ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เราทุกคนจมอยู่กับความกลัว และความกลัวของคนเรานั้นจะแตกต่างกัน โดยเผยว่า ส่วนตัวแล้วมีความหวาดกลัวในเรื่องภัยพิบัติ เพราะชอบฝันถึงตัวเองกำลังเสียชีวิตจากคลื่นน้ำใหญ่ที่ซัดเข้ามา และตอกย้ำความฝันอีกครั้งด้วยการที่ได้ไปเห็นภาพที่จังหวัดสมุทรปราการ หมู่บ้านในหลายพื้นที่ได้จมอยู่ในน้ำทะเลเหลือแต่เสาไฟฟ้ามองให้เห็น

TREA TALKS

จึงเกิดความคิดว่า “กรุงเทพ” ไม่น่าอยู่ ประกอบกับในย่านที่พักอยู่ มีการสร้างคอนโด และมีการลงเสาเข็ม ทำให้เกิดการสั่นไหวจนน่ากลัว จึงเลือกไปใช้ชีวิตอยู่ที่ เมืองจีน แต่ก็กลับมาคิดได้อีกครั้งว่า อากงของตนได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาอยู่เมืองไทยจนทำให้มีทุกอย่างในวันนี้ โดยที่ไม่เคยกลัวกับสิ่งใด จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า “ถ้าภัยพิบัติมันจะเกิด เราก็เผชิญเลยก็แล้วกัน”

และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ลุกมาทำอะไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

คุณวิภาวี กล่าวย้ำอีกว่า ในการเกิดความเสี่ยงกับภัยพิบัตินั้น จะแปรผันไปตามแต่ละภัยที่อาจเกิดขึ้น บวกกับความเปราะบางของสังคม แล้วหารด้วยขีดความสามารถที่ต้องเผชิญ

โดยให้สมการการเกิดภัยพิบัติ

R = Risk of disaster (ความเสี่ยง)

H = Hazards (ภัย)

V = Vulnerability (ความเปราะบาง)

Capacity to cope (ขีดความสามารถในการเผชิญสถานการ)

ซึ่งได้อ้างอิงจาก รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วาชิชชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย AIT ซึ่งได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เวลาที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นจะเกิดจากระยะไกล อย่างเช่น ในประเทศพม่า ซึ่งในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่สูงจะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน เพราะเป็นพื้นที่อ่อนนุ่ม 

โดยได้ยกตัวอย่างประเทศไต้หวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ทำให้เกิดการเสียชีวิตหลายร้อยคน โดยอาคารได้พังทลายลงมา และได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพในประเทศเนปาล ถึงแม้ตัวอาคารจะไม่พังทลาย โครงสร้างยังแข็งแรง แต่ว่าสิ่งที่เป็นส่วนประกอบเช่นฝ้าเพดาน ผนังอิฐ มันพังล้มลงมา อาคารแบบนี้ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้งานได้ โดยเน้นย้ำถึงการออกแบบ วิศวกร มีส่วนสำคัญ ไม่ว่าภายในหรือภายนอก โครงสร้างหลักควรแข็งแรง



ทั้งนี้ ยังได้ชี้ถึงเรื่องกฎหมาย ควรมีมาตรฐานการออกแบบอาคาร แบบต้านแรงสะเทือนของแผ่นดินไหวด้วย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังได้นำงานวิจัยจากเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งได้ให้ข้อมูลระบุว่าอาคาร 12 ชั้นขึ้นไปใน กทม มีอยู่ประมาณ 1400 กว่าหลัง อาคารสูง 20 ชั้นขึ้นไปมีประมาณ 600 กว่าหลัง มีความเสี่ยงที่จะถล่ม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้น พร้อมเน้นย้ำอีกว่า จะเกิดขึ้นทุกๆ 50 ปี 1000 ปีหรือ 5000 ปี

ดังนั้น การออกแบบหรือการก่อสร้างจึงมีส่วนสำคัญที่ควรตะหนัก ด้วยเหตุนี้จึงมีการจัดทำเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไม่แสวงหาผลกำไร เริ่มจากบน Facebook มา 8 ปี

เพราะเล็งเห็นว่าปัญหาภัยพิบัติเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรให้ความร่วมมือกัน เพราะเหตุการณ์เลวร้ายจะเกิดเมื่อไรนั้นไม่อาจคาดเดาได้ แต่การเตรียมพร้อมรับมือจะช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดข้อมูล : คลิก