Home / Seminar

Group Talks ดำเนินโดย คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ “ TREA TALKS Real Estate 2017 - Future Thailand: ประเทศไทย 4.0 ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ไม่ต้องทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง”

  • กิจกรรมภายในสมาคมฯ

    29 มิถุนายน 2560 09:00 น. - 29 มิถุนายน 2560 21:00 น.

  • Centerpoint Stuio

  • จำกัดจำนวน 800 ท่าน

ร่วมเสวนาโดย

  • คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์: กรรมการผู้จัดการ บลจ.ซี แอล เอส เอ
  • คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย: กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ช.ทวี ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด
  • ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์: ผู้อำนวยการสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

พร้อมรับฟังไอเดียการพัฒนาประเทศและพัฒนาเมืองจากเสียงคนรุ่นใหม่ ในหัวข้อ “ EBD: Eco Bussness District เมืองนวัตกรรมสีเขียว ” โดย คุณกัลยลักษณ์ มุกด์ธนะอนันต์, คุณบงกชพรรษ ตันติพิษณุ และ คุณปรินทร์ เหล่าตระกูล จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเสวนาอนาคตประเทศไทย 4.0 ก้าวไปอย่างไรโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ตั้งคำถามว่า คิดอย่างไรกับการร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนและมีภาคประชาชนอยู่ด้วยโดยที่เราไม่ได้ทิ้งประชาชนไว้ข้างหลังคุณสุรเดช: ในอดีตที่ผ่านมาเราติดกับดักอะไรถึงทำให้เราอยู่ใน MIDDLE IN COME TRAP หรือกับดักรายได้ประเทศปานกลาง กล่าวว่าประเทศไทยจะหลุด MIDDLE IN COME TRAP นั้นเป็นไปไม่ได้หรอกถ้าเรายังเป็นอย่างนี้กันอยู่ เพราะกรอบของประเทศไทยไม่ให้เรากู้เงินเกิน 60% ของ GDP

วันนี้ทางทีมงานขอนแก่นจึงได้มาดูกันว่าพวกเราติดกับดักอะไร นั่นคือ

กับดักทางความคิดไม่ใช่กับดักรายได้ประเทศปานกลาง เพราะวันนี้ อสังหาไม่ใช่แค่สร้างบ้าน แต่อสังหากำลังสร้างเมืองโดยความยั่งยืน และเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตัวอย่างคือ มีการจ้างแรงงานต่างด้าวน้อยลง การเพิ่มค่าแรงงานคนไทยเป็น 300 บาท

วิธีคิด จากเดิมที่เราเคยคิดว่าให้ใครทำ คนอื่นต้องทำ เราเปลี่ยนวิธีคิดว่าเราต้องทำ อย่างกรณีของขอนแก่นโมเดล ที่เราได้คิดกันขึ้นมาเป็นระยะเวลาถึง 7 ปี ลงมือทำกันเองโดยรัฐบาลกลางก็สนับสนุนให้ทำ เพราะทางรัฐบาลกลางไม่สามารถดูแลได้ทั้ง 76 จังหวัดของประเทศไทย เพราะฉะนั้นเราต้องหลุดจากกับดักความคิดและเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทางขอนแก่นเองมีการคุยกันมาเยอะ ทั้งเอกชน ภาครัฐบาล เทศบาล ภาคประชาสังคม และประชาชน กว่าจะสร้างขอนแก่นโมเดลขึ้นมาได้ โดยคำนึงเรื่องการเสวนา การลดอีโก้ และการเสียสละเราต้องทำงานสร้างเมืองเพื่อลูกหลานของเรา

คือความกล้าถ้าทำดีเราต้องกล้าทำ ถ้าเศรษฐกิจดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี อย่างขอนแก่นเองที่เราคำนึงถึง SMART CITY คือ การสร้างเมืองพร้อมที่จอดรถ ไม่ใช่สร้างเมืองให้แค่คนอยู่แล้วรถจะไปจอดที่ไหน ต้องไปจอดเรียงกันข้างถนน นั่นเรียกว่าเป็นการผลักภาระให้สังคม สุดท้ายมันจะตอบโจทย์ตามที่รัฐบาลอยากได้ คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งหากจังหวัดขอนแก่นที่เป็นจังหวัดเล็กๆ ทำแล้วเกิดความสำเร็จโดยจังหวัดอื่นๆ ทำตามก็จะทำให้ประเทศไทยก็จะพัฒนา

 

คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ตั้งคำถามว่า ประเทศไทยที่ยั่งยืนในอนาคตเป็นอย่างไร

คุณปริญญ์ ได้กล่าวว่าประเทศไทยเราติดกับดักทางด้านความคิดอยู่คือ GDP ซึ่งปัจจุบันเราจะได้ยินเรื่องการตั้งเป้า โดยการตั้งเป้านั้นก็ใช้ตัวเเลข GDP เป็นตัวกำหนด แต่เรื่องของความยั่งยืนนั้นเป็นอะไรที่ทำยาก ต้องใช้เวลา ความเพียร ความอดทนสูง และทัศนคติของคนทำงาน โดยที่ประเทศไทย 4.0 เป็นการเติบโตโดยที่จะใช้นวัตกรรม หรือด้านการบริการเข้ามาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วโดยถ้าเราจะใช้ความยั่งยืนเป็นหลัก เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการคิดของคน และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างรวดเร็ว และใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เรื่องงานเอกชนก็ปล่อยให้ทางเอกชนดำเนินการได้ เพราะหน้าที่ระหว่างรัฐบาลกับเอกชนมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนอยู่แล้ว

คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ตั้งคำถามว่า มีไอเดียอย่างไรในการนำ INNOVERTION มาใช้

คุณพันธ์ อาจได้นำเสนอเรื่อง  AREA-BASED INNOVATION เป็นนวัตกรรมเชิงพื้นที่คือเป็นเรื่องของการเปลี่ยนวิธีการคิดวิธีมองเพราะเมื่อเรามองอนาคต INNOVERTION เป็นเรื่องที่เราจับต้องไม่ได้

เราจึงต้องสร้างคุณค่าของ INNOVERTOR ให้เข้าถึงความรู้สึกและจับต้องได้เรา จะทำอย่างไรให้คนในพื้นที่เข้ามาร่วม เช่นยกตัวอย่าง พื้นที่ในกรุงเทพย่านพญาไท ราชเทวี บริเวณนี้มีโรงพยาบาลมาก จำนวนเตียงขนไข้เป็นหลักหมื่น เพราะฉะนั้นธุรกิจหรือนวัตกรรมที่จะเหมาะกับย่านนี้คือนวัตกรรมทางการแพทย์

สำหรับเมืองที่พัฒนาแล้วก็จะต้องพัฒนาคนด้วย เช่น สนันสนุนโครงการ START UP, SME เพราะประชากรที่อยู่ในย่านในเมืองนั้นๆ เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมือง ด้านนวัตกรรม จะมีโจทย์ที่สำคัญคือจะทำอย่างไรที่จะดึงดูดคนที่เป็น INNOVERTOR มาอยู่ กลุ่มคนพวกนี้จะมีการลงทุน และเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตของคนเมืองด้วย

คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ได้แนะนำนิสิต ม.ธรรมศาสตร์คณะสถาปัตยกรรมปศาสตร์ที่เรียนทางด้านผังเมืองได้มาเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองด้วยกัน 3 คน

นิสิต 1  เริ่มโดยการตั้งคำถามว่า บ้านที่เราอยู่ทุกวันนี้รกหรือเปล่า ใครคิดว่าบ้านของตัวเองไม่รก ให้คิดใหม่กันอีกที บ้านของเราประกอบด้วยชุมชน ชุมชนประกอบกันเป็นเมือง เมืองประกอบกันเป็นจังหวัด แล้วจังหวัดรวมกันเป็นประเทศของเรา ซึ่งปัจจุบันบางจังหวัดอยากเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว บางจังหวัดอยากเป็นศูนย์กลางเมืองอุตสาหกรรม ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเรามาดูกันว่าปัจจุบันนี้เราอยู่กันอย่างไร (มีภาพประกอบเป็นการจราจรในกรุงเทพ ชลบุรี โคราช) ซึ่งทำให้ดูอึดอัด เพราะมีแต่ปัญหาจราจร มีแต่รถเต็มไปหมดแทบจะไม่มีที่ให้คนอยู่ ปัญหาเหล่านี้มาจากการวางผังเมืองอย่างไม่เป็นระบบ

ถ้าพูดถึงประเทศไทยจังหวัดที่น่าสนใจในการพัฒนาผังเมือง คือ จ.ชลบุรี เปรียบเสมือนหม้อสุกี้ที่มีวัตถุดิบมากมาย และชลบุรีมีศักยภาพในการผลิตสูง มีแหลมฉบัง มีพื้นที่สีเขียวมากมาย และพัทยาที่เป็นเมืองท่องเที่ยว รวมถึงปัจจุบันจังหวัดชลบุรีมีการพัฒนาส่งเสริมการคมนาคม เช่น ส่วนต่อขยายของมอเตอร์เวย์ หรือโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายใน 10-20 ปีข้างหน้านี้ ก็จะทำให้คนเข้ามาในพื้นที่เยอะขึ้น หากเราไม่เตรียมพร้อมหรือรองรับก็จะทำให้เกิดการแออัด รวมถึงการจัดการทรัพยากรน้ำหรือทรัพยากรขยะ

ถ้าเราใช้ศักยภาพของทุกหน่วยงานมาแก้ไขเราก็จะช่วยกันได้โดยนำเสนอเป็นโครงการ EBD: ECO BUSINESS DISTRICT แนวทางการพัฒนาผังเมืองที่คำนึงถึงธรรมชาติ อุตสาหกรรม และคน ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้จะต้องอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ โดยออกแบบแนวคิดเมืองมาเป็น 2 แนวคิดหรือ

นิสิต 2    EIC: EIC  INNOVATION CENTER

งานออกแบบแรกใช้ 2 ประเด็นหลักในการออกแบบ

GLOBAL NETWORK LINKING กับแผนพัฒนาประเทศไทย

โดยได้คำนึงถึงจังชลบุรีว่า มีทั้งเมืองเก่าอย่างศรีราชา มีแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึก แต่ยังมีระบบการคมนาคมยังไม่ดีพอ โดยเราเชื่อมโยงกันด้วยระบบขนส่งมวลชน หัวใจของแผน EIC คือต้องการให้คนเข้าไปเดินและมีความสัมพันธ์กับอาคาร สร้างพื้นที่สีเขียวและน้ำเข้าไปเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยจะมีพื้นที่ของการพัฒนาการวิจัย พื้นที่ของการศึกษา และพื้นที่ของการลงทุนเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สุดท้ายเมืองที่ดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ภายใน 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี แต่ต้องใช้ระยะเวลา 10-30 ปี โดย EIC ได้วางระบบรากฐานพื้นฐานตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงระบบการศึกษาเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

นิสิต 3   งานออกแบบที่ 2 จากการที่ได้ลงศึกษาพื้นที่พบเจอประเด็น 3 ประเด็น คือ

  • ความไม่เชื่อมต่อของพื้นที่
  • การรุกล้ำธรรมชาติ
  • การไม่มีแผนรองรับการเติบโตของประชากร

เราจะเริ่มจากการเชื่อมต่อพื้นที่เข้าวางระบบรางรถไฟ เพื่อลดความหนาแน่นบนท้องถนน ประกอบกับมีพื้นที่สีเขียวด้านบนเพื่อลดการรุกล้ำทางธรรมชาติ ยกตัวอย่างความเป็นไปได้ของพื้นที่คือ อ่างเก็บน้ำบางพระ และอ่างเก็บน้ำหนองคล้อ เพราะพื้นที่ทั้ง 2 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นี้ยังไม่เคยถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน หากมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะทำให้พื้นที่ทั้งบริเวณอาณาเขตทั้ง 2 จะมีศักยภาพทางการเจริญเติบโต จะมีการวางระบบรถไฟรางเบาได้ 6 สถานีและเรายังคำนึกถึงระบบการบำบัดน้ำเสียและการจัดการระบบของน้ำภายในเมือง การเดินทางหลักของเมือง สามารถเดินทางด้วย 3 เส้นทางหลัก คือ เส้นทางรถไฟ เมโทรบัส และแท็กซี่

สำหรับการออกแบบเฟสแรก จะมีทั้ง CITY CENTER และ MEDICAL HUB โดยจะคำนึงถึงเส้นทางการเดินทาง ผู้คนสามารถเดินบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและมีพื้นที่สีเขียวเน้นความไม่แออัด

ดาวน์โหลดข้อมูล : คลิก (คุณสุรเดช)
ดาวน์โหลดข้อมูล : คลิก (คุณพันธุ์อาจ)