ค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

  • Projects
  • News
  • Property
  • How to

“สศค.” แจงกม.ภาษีที่ดินฯ ไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง รวมทั้ง SME รัฐมีมาตรการบรรเทาภาษีให้แน่นอน

29 สิงหาคม 2560

สภาหอการค้าไทยจัดสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ดร.พรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง

บรรยายหัวข้อ “เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และข้อยกเว้น ลดหย่อน

ขั้นตอนกระบวนการประเมินค่า เรียกเก็บ และชำระภาษีอย่างไร” มีรายละเอียด ดังนี้

     ภาษีที่ดินฯ กลัวภาษีแพง กลัวจ่ายภาษีไม่ถูก ย้อนหลังเราเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครปี 2543 มีคนใช้สิทธิ์ 40% มีสถิติคนมีที่ดินเกิน 50 ตารางวาจำนวน 3 แสนคน จากผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 10 ล้านคน ถ้ากม.ใหม่นี้มาบังคับใช้ และทดแทนภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนจะหายไป

     ภาษีบำรุงท้องที่เก็บจากการใช้ที่ดิน ปัจจุบันใช้ราคาประเมินปี 2521-2524 เป็นฐานคำนวณภาษี เป็นการใช้ราคาประเมิน 40 ปีที่แล้ว ทั่วประเทศเก็บได้ 900 ล้านบาท ในเขตกทม.เก็บได้หลัก 100 ล้านบาท น้อยมาก

     ภาษีโรงเรือนฯ ทั่วประเทศ 2.7 หมื่นล้านบาท ในกทม. 1.2 หมื่นล้านบาท เกือบครึ่งของภาษีตัวนี้

     ถ้าเราใช้ราคาปานกลางในการคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ปี 21-24 ปี 2559 กระทรวงมหาดไทยทดลองใช้ราคาประเมินปัจจุบันจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงหันมาใช้ราคาปานกลางในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อสะท้อนราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในปัจจุบัน นั่นคือข้อมูลที่ใช้คำนวณเก็บภาษีบำรุงท้องที่เป็นข้อมูลเก่า

     ผมเชื่อว่าคนคงไม่ชอบแน่ๆ ถ้าที่ดินติดกันเพื่อนบ้านเสียภาษีน้อยกว่า แต่ภาษีใหม่จะรู้ได้ทันทีว่าข้างบ้านราคาประเมินเท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่ เราจะให้มีการประกาศในพื้นที่มีทรัพย์สินอะไร ราคาประเมิน เสียภาษีเท่าไหร่ เราและคนอื่นดูได้เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่

     ดร.พรชัยกล่าวว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากค่าเช่า 12.5% ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในการคำนวณภาษี มีปัญหาในการจัดเก็บรายได้

     เปรียบเทียบงบประมาณ กทม.ปีละ 7 หมื่นล้านบาท แต่จัดเก็บเองเพียง 1.2 หมื่นล้าน จากผู้เสียภาษีปีละ 3 แสนกว่าคนเท่านั้นเอง ปูพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจถึงการเตรียมบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

     มีผู้ให้ข่าวว่ารัฐบาลจะเลื่อนการบังคับใช้ภาษี ขอเรียนยืนยันว่าไม่ได้ประกาศเลื่อนใช้ เพราะกม.อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสนช. ต้องทำความเข้าใจเพราะจะนิ่งนอนใจเกินไป

     โดย กม.ภาษีที่ดินฯ มีการจัดเก็บ 4 ประเภท ภาคเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า อย่าเพิ่งตกใจเพราะบางแปลงอยู่ในบังคับกม.ที่ทำอะไรไม่ได้เลย รัฐบาลดูแลตรงนี้ให้ด้วย

     เพราะฉะนั้น มีผู้เสียภาษี 3 คน 1.เจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ใครมีชื่อโฉนดก็คนนั้น ถ้าไม่มีหลักฐานก็ขอดูทะเบียนราษฎร์ ก็เป็นผู้เสียภาษี 2.เจ้าของห้องชุด ดูง่ายสุด 3.ผู้เช่าหรือผู้ครอบครอง เป็นผู้เสียภาษี

     ส่วนผู้จัดเก็บภาษี ต้องทำงานหนักขึ้น โดยต้องเข้าสำรวจเนื้อที่ และสำรวจการใช้ประโยชน์ จากเดิม “จุดเทียน”​ เอา ต่อไปทำไม่ได้แล้ว ต้องระบุทรัพย์สินมีเท่าไหร่ ใส่รายละเอียดหมด ได้แก่ เทศบาล อบต. อบจ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา

     หลักการ ภาษีนี้ไม่กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ดังนั้น ข้อห่วงใยว่า SME จะมีวิธีการดูแลบรรเทาความเดือดร้อนอย่างไร เช่น มีที่ดิน ทำมาหากินมานาน เดิมราคาที่ดินไม่แพงแต่เมืองขยายตัวมาหาท่าน ซึ่งภาษีจัดเก็บคำนวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งภาระเสียภาษีอาจเสียไม่เต็มตามการคำนวณ ซึ่งจะมีการบรรเทาภาษี

     แนวทางการจัดเก็บ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำการสำรวจ คำนวณแบบ และปิดประกาศเพื่อให้คนคัดค้านได้

สำหรับอัตราจัดเก็บ มติครม.เห็นชอบและส่งต่อให้ สนช.พิจาณา ดังนี้ ที่ดินภาคเกษตร เพดานไม่เกิน 0.2% ที่อยู่อาศัย ที่ดินเปล่า 5% ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม อัตราจัดเก็บแท้จริงยังมีเรื่องการบรรเทาภาษี ซึ่งการเสียภาษีจริงอาจไม่ได้เต็มจำนวนก็ได้

     นอกจากนี้ มีเรื่องการยึดทรัพย์สิน ข้อชี้แจงคือกฎหมายใหม่ไม่ได้เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป็นการใช้ข้อกฎหมายตามอำนาจเดิมที่เคยให้ไว้อยู่แล้ว ข้อวิตกเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมองว่าอาจมีความเข้าใจผิด

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

29 สิงหาคม 2560

Share