ค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

  • Projects
  • News
  • Property
  • How to

ตลาด Retirement Home กำลังมา

07 กันยายน 2560

     สังคมโลกเริ่มต้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลของสภาพัฒน์ พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มผู้สูงอายุุ อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 14% และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกิน 20% ในปี 2568 ทำให้ปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้สูงอายุ สินค้าสำหรับผู้สูงอายุได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งตลาดผู้สูงอายุชาวต่างชาติ เช่น ชาวญี่ปุ่นในเชียงใหม่ ชาวยุโรป สแกนดิเนเวียในพัทยา ภูเก็ต รวมทั้งตลาดคนไทยที่กำลังมีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น

 

MP30-3293-A

     สถานการณ์ผู้สูงอายุโลก โครงสร้างประชากรโลกและประชากรไทย มีการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน โดยประชากรสูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 10.0% ในปี 2543 เป็น 15.0% ในปี 2568 ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจาก 30.1% ในปี 2543 เหลือ 24.2% ในปี 2568 ส่วนในประเทศไทยประชากรสูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก9.4% ในปี 2543 เป็น 20.0% ในปี 2568 ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจาก24.7% ในปี 2543 เหลือ 18.0% ในปี 2568 กรณีประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่เกษียณอายุในประเทศมาก โดยในปี 2558 มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงมากประมาณ 30%

     ในภาพรวมการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ทำให้รัฐต้องดูแลประชากรสูงวัยมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันแรงงานนอกระบบมีการออมน้อยมาก โดยประชากรในวัยแรงงานกว่า 49 ล้านคน แต่มีถึง 22.7 ล้านคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม โดยกลุ่มที่มีรายได้เพียงพอจากบำนาญหรือเงินหลังเกษียณ เป็นข้าราชการเพียง 50-70% กลุ่มแรงงานในระบบประกันสังคมมีประมาณเพียง 38-40% ส่วนที่เหลืออาจมีรายได้หลังเกษียณไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต

 

MP30-3293-B

     สำหรับกลุ่มชาวต่างชาติที่มาเกษียณอายุในประเทศไทย International Living ได้จัดอันดับประเทศที่เหมาะสมในการเกษียณอายุ โดยในปี 2517 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก แต่เป็นลำดับ 2 ในเอเชีย (รองจากมาเลเซีย) ปัจจุบันชาวต่างชาติได้มาพักเกษียณอายุอยู่ในประเทศไทยตามแหล่งท่องเที่ยวหลัก เช่น พัทยา ภูเก็ต หัวหิน เชียงใหม่ เป็นต้น หลายคนก็เป็นห่วงว่าชาวต่างชาติเหล่านี้จะมาเป็นภาระให้กับประเทศเรา แต่ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่มาพักผ่อนช่วงเกษียณอายุในขณะที่ยังแข็งแรงอยู่ พอเริ่มมีปัญหาสุขภาพก็จะกลับไปประเทศของเขา เนื่องจากสวัสดิการต่างๆ ในการรักษาพยาบาลต้องกลับไปใช้ที่ประเทศต้นทาง

ที่มา  :  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,293

วันที่ 3 - 6 กันยายน พ.ศ. 2560

Share