ค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

  • Projects
  • News
  • Property
  • How to

ไทย-มาเลเซีย: การทำธุรกรรมทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศด้วยบาท–ริงกิต

05 กรกฎาคม 2560

         ในปี 2558 มาเลเซียเป็นคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 4 ของไทย รองจากจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แต่เป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ในอาเซียน รองลงมาคือสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 ของมาเลเซีย

ไทย-มาเลเซีย, การทำธุรกรรมทางการค้า, การลงทุนระหว่างประเทศ, บาท–ริงกิต, การธุรกรรมระหว่างไทยและมาเลเซีย, การธุรกรรมระหว่างประเทศ

         มูลค่าการค้าของไทยกับมาเลเซียเท่ากับ 7.48 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.3 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย โดยไทยส่งออกไปมาเลเซียมูลค่า 3.42 แสนล้านบาท และนำเข้ามูลค่า 4.06 แสนล้านบาท ไทยขาดดุลการค้าถึง 6.3 หมื่นล้านบาท

         สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพารา แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยและมาเลเซียยังมีข้อตกลงร่วมกันที่จะส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อให้การค้าระหว่างกันเติบโตเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ในปี 2561          

ไทย-มาเลเซีย, การทำธุรกรรมทางการค้า, การลงทุนระหว่างประเทศ, บาท–ริงกิต, การธุรกรรมระหว่างไทยและมาเลเซีย, การธุรกรรมระหว่างประเทศ

         นอกจากนี้ เพื่อให้การธุรกรรมระหว่างไทยและมาเลเซียมีความสะดวกมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเงินสกุลท้องถิ่นและบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการทำธุรกรรมระหว่างกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับธนาคารกลางมาเลเซีย หรือ Bank Negara Malaysia (BNM) ได้ประกาศเริ่มดำเนินกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจของทั้ง 2 ธนาคาร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558

         ภายใต้กลไกนี้ผู้ประกอบการไทยและมาเลเซียจะสามารถเลือกใช้บริการเงินสกุลริงกิตและบาทจากธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับเลือกในแต่ละประเทศเพื่อชำระธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นธนาคารฝั่งมาเลเซีย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ (มาเลเซีย) ธนาคารซีไอเอ็มบี (มาเลเซีย) ธนาคารมาลายาหรือเมย์แบงค์ ส่วนฝั่งไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย) และธนาคารกสิกรไทย ธุรกรรมที่ธนาคารอนุญาตให้ดำเนินการมี 3 ประเภท ได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาท-ริงกิต การรับฝากเงินริงกิตนอกประเทศ และการปล่อยสินเชื่อเป็นริงกิตให้แก่ลูกค้า

         ปัจจุบัน ไทยและมาเลเซียทำธุรกรรมทางการค้าโดยใช้เงินดอลลาร์สหรัฐประมาณร้อยละ 85 เงินบาทร้อยละ 10 ขณะที่การใช้เงินริงกิตมีสัดส่วนน้อยมาก การผ่อนคลายในเรื่องดังกล่าวจะช่วยทำให้คู่ค้าของทั้ง 2 ประเทศ มีต้นทุนลดลงและช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งจะทำให้ปริมาณการค้าขายเป็นเงินบาท-ริงกิตมีมากขึ้น นับเป็น 2 ประเทศแรกในอาเซียนที่มีการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ

ไทย-มาเลเซีย, การทำธุรกรรมทางการค้า, การลงทุนระหว่างประเทศ, บาท–ริงกิต, การธุรกรรมระหว่างไทยและมาเลเซีย, การธุรกรรมระหว่างประเทศ

ไทย-มาเลเซีย, การทำธุรกรรมทางการค้า, การลงทุนระหว่างประเทศ, บาท–ริงกิต, การธุรกรรมระหว่างไทยและมาเลเซีย, การธุรกรรมระหว่างประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.aseanthai.net

 

Share