ค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

  • Projects
  • News
  • Property
  • How to

ส่องต้นแบบการ “บูม ตลาด” จากเมือง Williamsburg

05 กรกฎาคม 2560

         ย่านพาณิชยกรรม ถือเป็นทำเลที่มีประสิทธิภาพที่ใครๆต่างก็ต้องการเลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าเพราะมูลค่าที่ดินย่อมสูง สามารถต่อยอดสร้างผลประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกทำเล เพราะทำเลตลาดที่เคย “บูม” มากๆ ในอดีต แต่ปัจจุบันกลับเหลือทิ้งไว้เพียงแต่ชื่อนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าให้ลองนึกภาพชัดๆ ก็มีตัวอย่างเช่น ตลาดน้ำ ในอดีตหลายๆ แห่ง ที่ปัจจุบันเปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ำมาเป็นทางบก ตลาดน้ำหลายแห่งจึงต้องปิดตัวไป ต้องกลับมานั่งคิดวิธีการฟื้นฟูตลาดกันแทบตายอีกครั้ง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ย่านทำเลตลาดอย่าง เวิ้งนาครเขษม ย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของชาวกรุงเทพฯ ที่เป็นแหล่งรวมเครื่องดนตรีและเครื่องเสียง ทั้งๆ ที่มีัอัตลักษณ์อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่อาจฝ่าฟันกระแสใหม่ของโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันไปได้

บูม ตลาด, Williamsburg, ตลาด,  ย่านพาณิชยกรรม , ตลาดน้ำ

         แต่การพลิกฟื้นย่านตลาดให้ยังคงมีชีวิตและสามารถทำมูลค่าได้อย่างของย่าน Williamsburg นั้นแตกต่างออกไป โดย TerraBKK Research จะขอนำเกร็ดความรู้ในเรื่องวิธีการ “บูม ตลาด” จากเทคนิคทางด้านการพัฒนาเมืองในชื่อ Gentrification ซึ่งเป็นวิธีการที่ย่าน Williamsburg แห่งนี้นำมาใช้จนประสบความสำเร็จ โดยหลักการ Gentrification นี้ คือหนึ่งในหลักการพัฒนาพื้นที่ (place-based approach) ทางผังเมือง ที่เน้นการเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์มากกว่าเรื่องของคุณภาพชีวิต โดยเป็นการดึงให้บุคคลภายนอกพื้นที่ที่มีความรู้และทรัพย์สินเข้ามาพัฒนาในพื้นที่ หรือการดึงเอกชนและนักลงทุนเข้ามาเพื่อพัฒนาย่านให้นั่นเอง ย่าน Williamsburg เป็นย่ายหนึ่งใน Brooklyn แห่งนคร New York จุดเริ่มต้นของการพัฒนาทำเลตลาดแห่งนี้อยู่ที่ถนน Bedford ซึ่งเป็นหนึ่งในอิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Brooklyn ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพราะก่อนหน้านี้ Williamsburg ไม่ได้เป็นน่าที่จับตามากนัก แต่เนื่องจากทำเลนี้อยู่ภาย Brooklyn ย่านศิลปินและศิลปะ โอกาสเติบโตจึงเกิดขึ้น

บูม ตลาด, Williamsburg, ตลาด,  ย่านพาณิชยกรรม , ตลาดน้ำ

         ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนร้านรวงและธุรกิจอิสระเริ่มเข้ามามากขึ้น ส่วนหนึ่งก็คือการขยายตัวมาจากย่านหลักของ Brooklyn อาทิเช่น ร้านกาแฟ, ร้านขายยา และร้านอาหาร หรือว่าง่ายๆ ว่า Williamsburg ใช้ประโยชน์ฺจากสเน่ห์ของ Brooklyn ในการดึงดูดเจ้าของธุรกิจจาก Brooklyn เข้ามาในพื้นที่ตนเอง แทนที่จะขัดแย้ง กลับกลมกลืนได้อย่างดี โดยล่าสุดร้านรวงใหญ่ๆอย่างเช่น Apple Store รวมไปถึงเคาน์เตอร์แบรนด์เครื่องสำอางค์ชั้นนำหลากหลายยี่ห้อ เริ่มมาจับจองพื้นที่ในการเปิด shop house ในทำเล Williamsburg เพราะแน่นอนว่า การที่มีพาณิชยกรรมที่เติบโตขึ้นในพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง บนถนน Bedford ในตอนนี้ปรากฎร้านรวงตลอดแนว ด้วยความใกล้กับโรงละคร ทำให้ความครึกครื้นของถนนเส้นนี้ดูมีเรื่องราวมากขึ้น ถนนเส้นนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของย่านค้าปลีกที่ทำรายได้ดีที่สุดใน Brooklyn ด้วยค่าเช่าอาคารพาณิชย์ที่เพิ่มจาก 50 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต มาเป็น 347 ดอลลาร์ต่อตารางฟุต อาคารเหล่านี้มักถูกจับจองโดยกลุ่มคนอิสระและศิลปิน ทำให้การค้าในย่านนี้ไม่เพียงแต่เป็นแค่ย่านของร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และร้านกาแฟ แต่ยังเป็นย่านยอดนิยมของการจัดงานแสดงศิลปะ ขายของเก่า และงานอินดี้ (Independent) อื่นๆ

บูม ตลาด, Williamsburg, ตลาด,  ย่านพาณิชยกรรม , ตลาดน้ำ

         ที่อยู่อาศัยในถนน Bedford กลายเป็นแหล่งพำนักของเจ้าของธุรกิจอิสระและศิลปิน เมื่อมีกลุ่มคนเหล่านี้เข้ามา จึงเกิดอพาร์ตเม้นท์และคอนโดมากขึ้น ซึ่งเป็น Demand ที่แปรผันตรงความย่านที่อินเทรนด์แบบย่านนี้ โดยหลายอาคารได้รีโนเวทใหม่เล็กน้อยเพื่อดึงดูดให้เกิดการอยู่อาศัยภายในพื้นที่ อพาร์ตเม้นท์ใหญ่ๆ จะมี facilities ครบครัน ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์สำหรับอพาร์ตเม้นท์ขนาดปกติ และราคาขายคอนโดมิเนียมจะอยู่ที่หนึ่งล้านดอลลาร์ จนกระทั่งเมื่อเกิดแผนการก่อสร้างสถานีรถไฟหลังจากได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแซดี้ ทำให้การเดินทางระหว่างย่าน Williamsburg และ Manhattan นั้นเชื่อมต่อกันได้ง่ายมากขึ้น โดยคาดการณ์การเปิดให้บริการในช่วงปี 2018-2019 สัญญานนี้ได้สร้างความตื่นตัวระหว่างเจ้าของตึกและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นไปได้ทั้ง 2 ทางว่า ผู้เช่าซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของย่านนั้น จะอยู่ต่อหรือจะย้ายออกไปก็ได้ ซึ่งการใช้วิธีการ Gentrification (การดึงคนนอกเข้ามาพัฒนาในพื้นที่) นั้นอาจไม่ได้ผลอีก ซึ่งคงต้องดูต่อไป ว่าย่านอินดี้แห่งนี้จะมีทางออกอย่างไร การจะยังคงทำให้ทำเลยังเป็นที่นิยมนั้น คงไม่ใช่เพียงแค่การ “บูม” มันขึ้นมาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้อง “บ่ม” ให้มันยังอยู่ต่อได้ หลายๆ ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง ที่มาจากโครงสร้างพื้นฐานแบบนี้ หลักการพัฒนาแบบผังเมืองเองก็มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาได้เหมือนกัน หากเราเข้าใจและรู้จักนำมาใช้ 

บูม ตลาด, Williamsburg, ตลาด,  ย่านพาณิชยกรรม , ตลาดน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.terrabkk.com

Share